ยินดีต้อนรับเข้าสู่........เว็บไซต์อาหารเพื่อการบำบัดโรค
 


 

กินบำบัดอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง


  1.  อาหารบำบัดอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง อาหารแก้อาการเหนื่อยล้าเรื้อรังอาการเหนื่อยล้า
อ่อนเพลีย ง่วงมักจะพบได้บ่อยๆ โดยเฉพาะในคนที่นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำงานหนัก ขาดสารอาหารและกำลังอยู่ในภาวะเจ็บป่วยซึ่งก็ถือเป็นอาการเหนื่อยล้าอย่างหนึ่' ที่บั่นทอนทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตเลยทีเดียว โดยอาการดังกล่าวนี้ถูกเรียกว่า อาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง
หรือเรียกว่า โครนิกฟาทีกซินโครม โดยส่วนใหญ่จะพบในวัยผู้ใหญ่มากกว่าวัยเด็กและพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า ดังนั้นในผู้หญิงจึงต้องระมัดระวังอาการดังกล่าวนี้มากเป็นพิเศษ เช่น การใช้อาหารบำบัดรักษาโรคนั่นเองเมื่อส่วนต่างๆ ของร่างกายเราเกิดความผิดปกติมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนล้าเข้ามาเกี่ยวข้องทำให้การทำงานหรือกิจวัตรประจำวันได้ไม่ดีเท่าที่ควร
เช่น ดวงตาอ่อนล้า สมองล้า แขน ขา มือ เท้าเมื่อยล้า อาหารบำบัดจึงมีบทบาทในการช่วยแก้ปัญหาอาการเหล่านี้ ความเกี่ยวข้องของอาหารกับอาการอ่อนเพลีย อาหารมีความเกี่ยวข้องกับอาการอ่อนเพลียโดยตรง นั่นก็เพราะร่างกายของคนเราจำเป็นต้องได้รับพลังงานอย่างเหมาะสมและสารอาหารบางชนิดอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายเกิดความกระปรี้กระเปร่าและมีพลังงานพร้อมกับการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ดังนั้นหากร่างกายขาดสารอาหารบางอย่างก็จะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย อาการเหนื่อยล้าได้นั่นเอง โดยสารอาหารที่มีผลมากที่สุด ได้แก่
1.1 วิตามินบ วิตามินบี เป็นวิตามินสำคัญที่จะช่วยเพิ่มการผลิตพลังงานจากอาหาร
ให้ร่างกายมีพลังงานอย่างเหมาะสม ดังนั้นหากขาดวิตามินบีไป ก็จะทำให้ร่างกายอ่อนแรงลง
และรู้สึกเพลีย นอนไม่ค่อยหลับ เฉื่อยชาหรือขาดสมาธิ ซึ่งพบว่าในคนที่ขาดวิตามินบีอย่างรุนแรง
อาจถึงขั้นออกแรงแค่นิดหน่อยก็ล้มพับได้เลยทีเดียว โดยกลุ่มคนที่มีโอกาสขาดวิตามินบีมากที่สุด
ได้แก่ ผู้สูงอายุ นักกีฬา หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่ทานมังสวิรัติ เป็นต้น ดังนั้นในกลุ่มคนเหล่านี้จึงควรทานวิตามินบีให้สูงขึ้นกว่าคนปกติ เพื่อป้องกันภาวการณ์ขาดนั่นเอง
1.2  วิตามินซี โดยปกติคนเราควรทานวิตามินซีให้ได้วันละ 400 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณที่มีความเหมาะสมที่สุด โดยพบว่าในคนที่ได้รับวิตามินซีน้อยกว่าวันละ 100 มิลลิกรัมต่อวัน จะมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลียได้ง่าย แต่หากได้รับวิตามินซีที่สูงขึ้น ก็จะช่วยลดความอ่อนเพลียได้เหมือนกัน ทั้งยังสามารถเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นอีกด้วยซึ่งก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยได้มากขึ้น
1.3   ธาตุเหล็ก ธาตุเหล็กมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยจะทำหน้าที่ในการช่วยขนส่งออกซิเจน
จากปอดไปยังเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย หากมีธาตุเหล็กน้อยเกินไป ร่างกายก็จะดึงเอาธาตุเหล็กที่อยู่ในเนื้อเยื่อออกมาใช้แทน เป็นผลให้กล้ามเนื้อขาดออกซิเจนและมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและเพลียในที่สุด ดังนั้นจึงควรทานธาตุเหล็กให้เพียงพออยู่เสมอ นอกจากนี้การขาดธาตุเหล็กก็ถือเป็นปัญหาใหญ่
สำหรับผู้หญิงมากทีเดียว เพราะจะทำให้มีโอกาสเป็นโรคโลหิตจาง และหมดประจำเดือนก่อนถึงวัยได้ง่าย อย่างไรก็ตามบางครั้งการขาดธาตุเหล็กก็ไม่ทันได้สังเกตเพราะไม่มีอาการที่แสดงออกมาอย่างแน่ชัด จึงต้องตรวจเลือดเพื่อทราบว่าอยู่ในภาวะที่ธาตุเหล็กต่ำหรือไม่นั่นเอง ส่วนผู้หญิงที่อยู่ในวัยมีประจำเดือน ก็แนะนำให้ทานธาตุเหล็กเยอะๆ โดยทานให้ได้วันละ 18 มิลลิกรัม ซึ่งธาตุเหล็กก็สามารถพบได้มากใน เนื้อแดง
เต้าหู้ ปลา ผักใบเขียวและลูกพรุนนั่นเอง และจากคำกล่าวที่ว่า อาหารที่สมดุลจะให้ธาตุเหล็ก 6 มิลลิกรัมต่อพลังงาน 1000 แคลอรี ก็แสดงให้เห็นได้ว่าผู้หญิงจำเป็นต้องได้รับอาหารอย่างน้อยวันละ 300 แคลอรี่
เพื่อให้ได้ธาตุเหล็กอย่างเพียงพอนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากการกินให้ได้ปริมาณเท่านั้นเป็นเรื่องยากพอสมควร และหากต้องกินเท่านั้นจริงๆ ก็มักจะมีโรคอ้วนตามมาอยู่และทานให้ได้ 18 มิลลิกรัมต่อวัน เท่านี้ก็จะทำให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอและลดอาการเหนื่อยล้าลงได้
อย่างไรก้ตามการได้รับธาตุเหล็กมากเกินไปก็อาจส่งผลเสียได้ คือก่อให้เกิดมะเร็งได้สูงนั่นเอง
1.4   แมกนีเซียม เมื่อร่างกายขาดแมกนีเซียม ก็จะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรงและเหนื่อยล้าได้ นั่นก็เพราะว่าแมกนีเซียมเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้โปรตีน ไขมันและคาร์โบไฮเดรตถูกเปลี่ยนไปเป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากมีแมกนีเซียมน้อย ก็จะทำให้สารอาหารเหล่านี้เปลี่ยนเป็นพลังงานได้ช้าลงหรือยากขึ้นนั่นเองนอกจากนี้จากการวิจัยส่วนใหญ่ก็ยังค้นพบอีกว่า ในผู้ที่มีอาการ CFS เมื่อเสริมแมกนีเซียมอย่างเพียงพอก็สามารถที่จะบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้
และยังปรับอารมณ์ให้ดีขึ้นอีกด้วยซึ่งก็จะช่วยลดความหงุดหงิดวิตกกังวลและ
แก้ปัญหาการนอนไม่หลับได้เป็นอย่างดีจะเห็นได้ว่าวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้ล้วนมีผลต่ออาการอ่อนเพลียทั้งสิ้น แต่ทั้งนี้นั่นก็เป็นเพียงแร่ธาตุส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งยังมีวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับอาการ CFS อีกมากมาย เช่น วิตามินอี โซเดียม สังกะสี กรดโฟลิก โปแตสเซียมและแมงกานีส เป็นต้น โดยหากขาดสารอาหารเหล่านี้ก็จะทำให้มีโอกาสเป็นโรคโลหิตจางได้สูงและมีอาการอ่อนเพลียได้ง่าย นอกจากนี้การได้รับสารบางอย่างมากเกินไปก็เป็นผลให้เกิดอาการเพลีย เหนื่อยล้าแบบเรื้อรังได้เช่นกัน เช่น ตะกั่ว อะลูมิเนียมและแคดเมียม เป็นต้น ดังนั้นจึงควรใส่ใจเรื่องโภชนาการอยู่เสมอ



2.  อาหารบำบัด เพลียเรื้อรัง เพลียเรื้อรัง ปรับการกินการรักษาอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง นอกจากการใช้ยาแล้ว การปรับพฤติกรรมบางอย่างก็มีส่วนช่วยบำบัดรักษาได้ เช่น การจัดการความเครียดด้วยวิธีกำหนดลมหายใจ ซึ่งอาจทำในรูปแบบการนั่งสมาธิ เล่นโยคะ รำไทเก๊ก หรือการออกกำลังกายรูปแบบอื่นๆ เป็นประจำก็ได้ ในด้านโภชนาการก็มีส่วนช่วยในการรักษาอาการอ่อนเพลียเรื้อรังด้วยเช่นกัน โดยมุ่งเน้นที่…
1)  หลีกเลี่ยงอาหารที่ส่งผลต่อการนอนหลับ เช่น ช็อกโกแลต ชา กาแฟ โกโก้ เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มประเภทโคล่า รวมทั้งเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีกาเฟอีน
2)  เสริมอาหารที่ช่วยให้นอนหลับสนิท ได้แก่ อาหารที่มีกรดอะมิโนแอล-ทริปโตเฟน ซึ่งพบได้ในกล้วย นม โยเกิร์ต ชีส ข้าวโอ๊ต เนื้อแดง เนื้อไก่ เนื้อปลา ไข่แดง ธัญพืช เช่น งา อัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน และถั่วต่างๆ เนื่องจากมีรายงานพบว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคอ่อนเพลียเรื้อรังมักมีระดับกรดอะมิโนกลุ่มแอล-ทริปโตเฟนในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์
3)  เสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบภูมิคุ้มกันโดยการรับประทานอาหารที่มีวิตามินซี กรดโฟลิก และกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง ซึ่งพบได้ในผัก ผลไม้ ถั่ว ธัญพืช ปลาทะเล หรือปลาน้ำจืด เช่น ปลาช่อน ปลานิล ปลาสวาย เป็นต้น
4)  เติมอาหารที่มีกรดโฟลิกและวิตามินบี 12 สูง เนื่องจากผลสำรวจภาวะโภชนาการของผู้ป่วยพบว่า ผู้ป่วยโรคอ่อนเพลียเรื้อรังกว่าร้อยละ 30 มีภาวะขาดวิตามินบี 12 และกว่าครึ่งมีภาวะขาดกรดโฟลิกซึ่งอาจส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
5)  เลือกคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เพราะมักมีใยอาหารทำให้น้ำตาลค่อยๆ ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด
จึงช่วยปรับสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันภาวะน้ำตาลสูงหรือต่ำเกินควรจนมีผลให้ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลียมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างอาหารที่เป็นคาร์โบไผอเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวแป้งไม่ขัดสี ข้าวโพด เผือก ฟักทอง ขนมปังโฮลวีต
6)  ปรับการรับประทานอาหารตามภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นอาการคลื่นไส้ ภาวะลำไส้แปรปรวน ท้องอืด
ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก หรือปัญหาการกลืนในผู้ป่วยบางราย
ยกตัวอย่างเช่น เน้นรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 12 แมกนีเซียม สังกะสี เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดตามกล้ามเนื้อและข้อต่างๆ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม อาหารทะเล ถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี และผักใบเขียว