ยินดีต้อนรับเข้าสู่........เว็บไซต์อาหารเพื่อการบำบัดโรค
 


 

   อาหารเปลี่ยนอารมณ์

1. อาหารช่วยปรับเปลี่ยนอารมณ์ ปรับสมดุลสมอง ปรับอาหารเปลี่ยนอารมณ์เมื่ออารมณ์ไม่คงที่
แปรปรวน หงุดหงิดบ่อย การปรับอาหารที่ทานตามสภาพอารมณ์ ณ เวลานั้นจะช่วยปรับเปลี่ยนอารมณ์
ให้ดีขึ้นได้ ซึ่งอาหารแต่ละชนิดก็สามารถปรับเปลี่ยนอารมณ์ได้ดังนี้
1.1 โปรตีนช่วยเพิ่มความตื่นตัว เพราะโปรตีนเมื่อถูกทานเข้าสู่ร่างกาย
และผ่านกระบวนการย่อยเรียบร้อยแล้ว จะถูกเปลี่ยนไปเป็นกรดอะมิโนที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีกรดอะมิโนที่ชื่อว่าไทโรซีน โดยจะทำหน้าที่ในการเพิ่มสารโดพามีน
สารอีพิเนฟรินและสารนอร์อีพิเนฟริน โดยสารเหล่านี้จะกระตุ้น
ให้เกิดความรู้สึกตื่นตัว และทำให้ร่างกายมีเรี่ยงแรงมากขึ้น แถมยังทำให้เกิดความกระปรี้กระเปร่า
มากกว่าเดิมอีกด้วย ดังนั้นในคนที่เกิดความรู้สึกเอื่อยเฉื่อยไม่ค่อยร่าเริงหรือกระปรี้กระเปร่ามากนัก
ก็ควรเน้นการกินโปรตีนสูงเป็นหลัก ซึ่งสามารถหาได้จาก เนื้อไก่ เนื้อวัว
ปลา สัตว์ปีก เนยแข็ง ไข่และเนื้อหมู เป็นต้น หรือสำหรับใครที่กินเจ กินมังสวิรัติ
ก็สามารถกินโปรตีนได้จากนมถั่วเหลือง เต้าหู้และถั่วต่างๆ ได้เช่นกัน


1.2  อาหารไขมันต่ำมีโปรตีนเล็กน้อย เพิ่มความสดชื่นและกระตุ้นความคิด
ให้แล่นมากขึ้นส่วนใหญ่จะเน้นทานเป็นอาหารมื้อเช้า เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายให้พร้อมรับ
กับการเริ่มต้นวันใหม่ที่สดใส และการทำงานตลอดวัน โดยการทานอาหารตามนี้ในมื้อเช้า
ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และลดความเฉื่อยชา อ่อนล้าได้เป็นอย่างดีแถมยังทำให้ร่างกาย
และความคิด มีความว่องไวกว่าเดิม โดยอาหารเช้าแนะนำที่จะปรับอารมณ์ให้ดีขึ้นได้
ก็ได้แก่ นมถั่วเหลือง 1 แก้ว ส้ม 1 ผล ข้าวต้มปลา หรือนมไขมันต่ำ เป็นต้น
1.3  คาร์โบไฮเดรตไม่ขัดสี ช่วยลดความเครียด สร้างความผ่อนคลาย 
เพราะอาหารคาร์โบไฮเดรต แบบไม่ขัดสีนั้น จะทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน
เข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น และมีการนำเอาสารทริปโตเฟนไปใช้ในการสร้างสารเซโรโทนิน
จึงทำให้อารมณ์ดี และละมีความสุขอย่างไรก็ตาม การกินคาร์โบไฮเดรต ก็จะต้องระมัดระวังเล็กน้อย เพราะหากกินมากเกินไปก็จะทำให้สารเซโรโทนิน ถูกผลิตออกมามากจนเหลือเฟือและส่งผล ให้เกิดอาการง่วงนอนมากกว่าปกติ ดังนั้น เราจึงมักจะเห็นได้ว่าในคนที่ลดน้ำหนักมักจะเริ่มมีอาการเศร้าซึม
ในช่วงสัปดาห์ที่3 ซึ่งก็เนื่องมาจากการลดปริมาณของคาร์โบไฮเดรตลง จึงทำให้ระดับเซโรโทนินลดต่ำลงกว่าปกติ และส่งผลต่อสภาวะอารมณ์ได้นั่นเองทั้งนี้หากต้องการให้ระดับเซโรโทนินสูงขึ้นและภาวะอารมณ์
กลับสู่ปกติก็ต้องกินคาร์โบไฮเดรตที่ดี ซึ่งได้แก่ ข้าวโพด ลูกเดือย ฟักทอง เผือก มัน ขนมปังโฮลวีตและมูสลี เป็นต้น ส่วนคาร์โบไฮเดรตที่อยู่ในรูปของน้ำหวานหรือขนมหวานควรหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้อ้วนได้  
1.4 กินคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนแยกกันเพื่อเปลี่ยนอารมณ์ สำหรับการเปลี่ยนอารมณ์
เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ควรกินคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนแยกกัน โดยเน้นกินแบบนี้ในมื้อเที่ยงเป็นหลัก
เพื่อให้ร่างกายมีความตื่นตัว และพร้อมสำหรับการทำงาน ในช่วงหลังพักกลางวันต่อไป ทั้งนี้ในมื้ออาหารแนะนำให้เริ่มจากการกินโปรตีนก่อนจากนั้นจึงตามด้วยคาร์โบไฮเดรตเพียงเล็กน้อย เท่านี้ก็จะช่วยเปลี่ยนอารมณ์ให้ดีขึ้นได้แล้วและที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หรือมีน้ำตาลสูงในมื้อเที่ยงอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดอาการง่วงนอนและสะลึมสะลือได้
แถมยังลดการทำงานของสมองทำให้สมองไม่แล่นคิดอะไรไม่ค่อยออกอีกด้วยและอีกหนึ่งสิ่งสำคัญ
ที่ควรรูู้้ก็คืออย่ากินมื้อเที่ยงหนักเกินไป โดยฝรั่งได้แนะนำ
ให้กินแซนวิชไก่งวง น้ำผลไม้ ขนมปังโฮลวีตร่วมกับสลัดแต่สำหรับคนไทยที่ไม่ถนัดกินเมนูเหล่านี้
มากนักก็อาจกินก๋วยเตี๋ยวน่องไก่ใส่เส้นน้อยหรือจะกินยำวุ้นเส้นทะเลแทนก็ได้เหมือนกัน
1.5  ลดปริมาณไขมันไม่ดี เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองเพราะอาหารที่มีไขมันชนิดไม่ดีสูง
จะไปทำให้การทำงานของสมองช้าลง ทั้งยังเป็นการเพิ่มน้ำหนักและเร่งโอกาสที่จะเกิดโรคหัวใจให้สูงขึ้นอีกด้วย
ดังนั้นจึงควรลดปริมาณของไขมันที่ไม่ดีให้น้อยลงที่สุดหรือหากสามารถงดทานไปเลยได้ก็จะดีมาก


1.6  ดื่มคาเฟอีน ลดอาการซึมเศร้าคาเฟอีนที่พบในกาแฟถึงแม้ว่า
จะไม่ค่อยดีต่อสุขภาพมากนักแต่ในขณะเดียวกันก็สามารถลดอาการซึมเศร้าลงได้เหมือนกันซึ่ง
ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกตื่นตัวและสดชื่นมากขึ้นได้ ตั้งแต่ไม่กี่นาทีหลังดื่มเลยทีเดียว ดังนั้นในคนที่เป็นโรคซึมเศร้า
หรือมีอาการซึมเศร้าบ่อยๆ แค่ดื่มกาแฟวันละ 1-2 ถ้วย ก็จะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างดีเยี่ยมแล้ว และที่สำคัญ
ไม่ควรดื่มหลังจากเวลา 15.00 น. ขึ้นไป เพราะสารคาเฟอีนที่ค้างอยู่จะทำให้เกิด
อาการนอนไม่หลับและส่งผลเสียได้นั่นเองดังนั้นควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว
จะได้ผลลัพธ์ที่ดีมากกว่าผลเสียอย่างแน่นอน
1.7  ปลาทะเล ลดอารมณ์ซึมเศร้า ปลาทะเลมีกรดโอเมก้า 3 สูงซึ่งนอกจากจะข่วยเสริมสร้างสมอง
และพัฒนาการ การเรียนรู้ที่ดีแล้ว ก็สามารถลดอารมณ์ซึมเศร้าได้ดีไม่แพ้สารอาหารชนิดอื่นๆ
เลยทีเดียว นั่นก็เพราะเมื่อกินปลาในปริมาณมาก จะทำให้ระดับเซโรโทนินเพิ่มสูงขึ้น
จึงลดอาการซึมเศร้า หดหู่และป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือใครที่ไม่ค่อยสะดวกกินปลา
ก็อาจกินน้ำมันตับปลาเสริมที่มีอีพีเอและดีเอชเอวันละ 1 กรัมแทนก็ได้